หน้าแรก | ข่าวทั่วไป | มทส. มหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก ความสำเร็จบนความท้าทาย 'เขียวสะอาดอย่างยั่งยืน'

มทส. มหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก ความสำเร็จบนความท้าทาย 'เขียวสะอาดอย่างยั่งยืน'

image

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เผยความสำเร็จ 2 ทศวรรษของการดำเนินนโยบายมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด (Green and Clean University)ปลื้มติดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก UI GreenMetric World University Ranking 4 ปีซ้อน ตอกย้ำภาพแห่งความสำเร็จในการดำเนินนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก ได้รับเชิญจาก UI GreenMetric Committee ร่วมแชร์ความสำเร็จและประสบการณ์ของการดำเนินงานบนเวที UI GreenMetric พร้อมลงนามใน Declaration of Membership UI GreenMetric University Ranking Network ที่ตุรกี เผยทศวรรษที่ 3 มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการยั่งยืนระดับโลก

2

ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท   สืบค้า อธิการบดี มทส. กล่าวว่า มทส. ได้ประกาศนโยบาย “มหาวิทยาลัยเขียวสะอาด (Green and Clean University)”ภายใต้แนวคิด “เขียวคือชีวิต สะอาดคือจิตใจ สะอาดกายสบายใจ”มาตั้งแต่ปี 2537 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้พัฒนาพลิกฟื้นป่าเสื่อมโทรม 7,000 ไร่ ในการปลูกป่าเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เน้นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเดิม พัฒนาภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัย มีการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนา เพื่อสร้างความร่มรื่น ความสวยงาม ให้เหมาะสมกับการเป็นเมืองมหาวิทยาลัย มีระบบ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่าง ๆ รวมถึงการสร้างกลไกเพื่อรองรับและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ที่มุ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการดำเนินนโยบายเขียวสะอาดอย่างจริงจัง  พร้อมบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ระยะ 10 ปี พ.ศ. 2555 – 2564 ด้วย

3

UI Green Metric World University Ranking คือการจัดอันดับสถาบันการศึกษาสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia : UI) ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เกณฑ์การจัดอันดับของ UI ถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานหนึ่งที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เป็นเกณฑ์ชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน คือ สภาพที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการของเสีย การจัดการน้ำ การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

4

ทั้งนี้ มทส.เข้าร่วมการจัดอันดับครั้งแรกในปี 2555 ในปี 2556 ได้รับการจัดอยู่ในอันดับที่ 75 ของโลก อันดับที่ 8 ของไทย ปี 2557 ได้อันดับที่ 76 ของโลก อันดับที่ 4 ของไทย ในปี 2558 ได้รับการจัดอันดับที่ 52 ของโลก เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ปี 2559 อยู่ในอันดับ 102 ของโลก และอันดับ 2 ของไทย ซึ่งหากพิจารณาเกณฑ์ชี้วัดต่าง ๆ แล้วพบว่า ด้านสภาพที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน มทส.อยู่ในอันดับที่ 7ของโลก และด้านความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน อยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก นับเป็นความสำเร็จของ มทส. ที่เข้าร่วมจัดอันดับเพียง 4 ปี มีอันดับดีขึ้นเป็นลำดับ ตอกย้ำภาพแห่งความสำเร็จในการดำเนินนโยบายมหาวิทยาลัยเขียวสะอาดมากว่า 2 ทศวรรษ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลมาจากการวางรากฐานตั้งแต่ก่อตั้ง การมีแนวนโยบายที่ดี มีความต่อเนื่องในการพัฒนา และการร่วมคิดร่วม ทำของทุกฝ่าย

9

อธิการบดี มทส. กล่าวด้วยว่า ตัวชี้วงประเทศ 2 ปีซ้อนวิทยาลัยในการดำเนินนโยบายเขียวสะอาดอย่างจริงจัง  หากวิเคราะห์ในรายละเอียดในแต่ละเกณฑ์ชี้วัดจะพบว่า มทส. มีความมุ่งมั่นจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแฝงอยู่ในทุกพันธกิจอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้จากด้านสภาพที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐาน มทส. ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองนครราชสีมา ได้พัฒนาพลิกฟื้นป่าเสื่อมโทรม 7,000 ไร่ กระทั่งปัจจุบันมีพื้นที่สีเขียว คิดเป็นสัดส่วน 95% ของพื้นที่ทั้งหมด มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การนำแนวคิดอาคารสีเขียวและอาคารอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้กับอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย 72% ของพื้นที่อาคารทั้งหมด

5

นอกจากนี้ ยังได้จัดงบประมาณสำหรับโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตดีในเมืองมหาวิทยาลัย 30% ของงบประมาณทั้งหมด ด้านการจัดการด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีนโยบายในการจัดการการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในมหาวิทยาลัย โดยได้ดำเนินการโดยการส่งเสริมการเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าและระบบปรับอากาศสำนักงาน และโคมไฟส่องสว่างถนนเป็นระบบประหยัดพลังงาน จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อรณรงค์และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในมหาวิทยาลัย รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนจากเซลล์แสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าชีวมวล ไบโอดีเซล และก๊าซชีวภาพ  

6

ด้านการจัดการของเสีย มีระบบการจัดการขยะแบบครบวงจรที่มีประสิทธิภาพ การจัดตั้งธนาคารวัสดุรีไซเคิล ซึ่งสามารถแยกขยะและสร้างมูลค่ารวมถึงผลพลอยได้จากกระบวนการกำจัดขยะแบบครบวงจรที่ได้ปุ๋ยอินทรีย์และเชื้อเพลิงที่ RDFสามารถสร้างรายได้ให้กับกองทุนสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยกว่า 7 แสนบาท/ปี RDF จากระบบดังกล่าว ยังสามารถใช้เป็นวัสดุในการผลิตน้ำมันด้วยกระบวนการไพโรไลซิส และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะในมหาวิทยาลัย ปุ๋ยอินทรีย์ถูกใช้เพื่อทดแทนปุ๋ยเคมีในมหาวิทยาลัยและชุมชนใกล้เคียง นอกจากนี้ ระบบการจัดการขยะแบบครบวงจร ได้ถูกปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังอง์กรภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมาก มีเทคโนโลยีการกำจัดขยะและของเสียติดเชื้อเพื่อรองรับการให้บริการโรงพยาบาล มทส. ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ในจังหวัดนครราชสีมาและใกล้เคียง

7

ด้านการบริหารจัดการน้ำ มีระบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ มีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ 100% รวมถึงการณรงค์และสร้างจิตสำนึกในการประหยัดน้ำอย่างมีจริงจัง ด้านระบบการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีนโยบายลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในมหาวิทยาลัย ส่งเสริมการเดิน การใช้จักรยาน และการใช้บริการรถไฟฟ้าฟรีภายในมหาวิทยาลัย เพื่อลดมลพิษ ลดปัญหาการจราจร และข้อจำกัดของพื้นที่จอดรถ โดยจัดให้มีรถไฟฟ้าให้บริการภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 16 คัน การมีเส้นทางจักรยาน พร้อมให้บริการยืมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย การทำหลังคาสำหรับทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร ทำให้การใช้ชื้อเพลงภายในมหาวิทยาลัยลดลง

 

8

ส่วนด้านการจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน แม้ มทส. เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่หลักสูตรต่าง ๆ ยังสอดแทรกแนวคิดด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลักสูตรที่เปิดสอนด้วย ปัจจุบันมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง คิดเป็น 38% ของจำนวนหลักสูตรทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้ง "กองทุนสิ่งแวดล้อม" เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย และสนับสนุนโครงการวิจัย สิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในในมหาวิทยาลัย

จากความสำเร็จดังกล่าว อธิการบดี มทส. ได้รับเชิญจาก UI GreenMetric Committee ให้ไปนำเสนอความสำเร็จ ผลการดำเนินการ และประสบการณ์ มทส. มหาวิทยาลัยเขียวสะอาด ในการประชุม The 3rd International Workshop on UI GreenMetric "Global Campus Partnership for Sustainability Future" และร่วมลงนามใน Declaration of Membership UI GreenMetric University Ranking Network ณ มหาวิทยาลัยอิสตันบูล กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมาด้วย

“ความท้าทายของ มทส. ในการดำเนินนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียวสะอาด (Green and Clean University)และมหาวิทยาลัยสีเขียวระดับโลก จะยังคงมีการดำเนินการและสืบสานต่อเนื่องไปอีกยาวนาน แม้ต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณต่าง ๆ ในการดำเนินการ เพราะการพัฒนาสู่ความยั่งยืนดังกล่าว ย่อมมาพร้อมกับต้นทุนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความท้าทายเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการร่วม คิด ร่วมทำ ร่วมผลักดัน จากชาว มทส. รวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การเปลี่ยนทัศนคติ มุมมอง และพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของมหาวิทยาลัยโดยวิถีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เขียว สะอาด ปราศจากมลพิษ การพัฒนาและการบำรุงรักษาโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยและพัฒนา การมีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์การพัฒนา และการสนับสนุนจากภาครัฐจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการในที่สุด ซึ่งสอดรับกับความมุ่งมั่นของ มทส. ในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการยั่งยืนระดับโลก (World-class Sustainable University) ภายในปี พ.ศ. 2563 และเป็นที่พึ่งของสังคมต่อไป” อธิการบดี มทส. กล่าว”

ส่งข่าวนี้ไปยัง: Digg this story Digg Facebook Share Facebook

ความคิดเห็น ( จำนวนโพส):

โพสแสดงความเห็นของคุณ comment
กรุณาใส่รหัสตามภาพที่เห็น:
หมวดหมู่
หัวข้อข่าวนี้ไม่ระบุหมวดหมู่
ให้คะแนนระดับความนิยม
5.00
ais adv